Carpenter

อ่านว่า อ่านว่า (คาร์เพนเต่อร์)

แปลว่า ช่างไม้

ช่างไม้.jpg

รูปภาพจาก : https://sites.google.com

               ก่อนอื่น ต้องขอบอกก่อนว่า ช่างไม้ตัวจริง ที่ประกอบอาชีพตกแต่งภายใน เริ่มต้นจาก “ครูพัก ลักจำ” หรือมาจาก การเรียนรู้ที่เกิดจากการได้ปฎิบัติจริง สืบทอดต่อๆกันมา ไม่ได้มีตำราเขียนไว้อย่างชัดเจน การสอนก็คือการเรียนรู้จากการทำงานจริง(On The Job Trainning) เมื่อเริ่มมีทักษะและประสบการณ์แล้วก็เริ่มหัดรับงานเอง (ดังแล้วแยกวง ว่างั้นเหอะ)

            ดังนั้น Shop ของพวกเขา จึงไม่สวยหรูเหมือนเว็บเมืองนอก ที่เราเคยเห็นมา หากแต่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ตรงตามความต้องการลูกค้าเป็นพอ โดยคิดเพียงว่า ทำงานออกมาอย่างไร โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพียงเพื่อให้เหลือเงินเอาไว้ลงทุนสำหรับงานต่อไป                                       

                  ถ้าหากจะเอ่ยถึงช่างฝีมือ ระดับขั้นเทพในจังหวัดนครปฐม เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก “ช่างกึง” ช่างเก่าแก่ในย่านเมืองนครปฐม ไม่มีใครในวงการช่างไม้ตกแต่งภายในจะไม่รู้จักแก ด้วยนิสัยตรงไปตรงมา เสียงดัง พูดคำ สบถคำ แต่สำหรับผู้เขียนเอง คิดว่ามาจากความเคยชินกับลูกน้องและประเภทงานที่ต้องมีแต่เสียงเครื่องจักร ขี้เลื่อยที่ฟุ้งกระจาย และอากาศที่ร้อนอบอ้าวมากกว่า แต่แกเป็นช่างไม้ที่มีความจริงใจให้กับทุกคน  แกเล่าให้ฟังว่า “โอ๊ย! สมัยกูเป็นวัยรุ่นมันร้อนวิชาโว๊ย  อยากรู้อยากเห็นไปหมดตอนแรกเถ้าแก่เขาให้กูช่วยแค่ตัดไม้ตามคำสั่ง แบกไม้มั่ง ทากาวให้มั่ง กูทำแม่งหมด  พอตอนพักกลางวันคนอื่นเขานอนพักกัน กูไม่น่ะ(อมยิ้มนิดนึง)กูเอาแบบมาดู มันเป็นยังไงวะ แล้วกูก็ถามเถ้าแก่เค้าก็ดี สอนกูไม่หวงวิชา ต่อมากูพอเป็นเลยออกมารับเองแม่งเลย งานแรกตีราคาไม่เป็นเกือบขาดทุน แต่พอมีงานที่2 ที่3 ก็สบายทำจนตอนนี้แม่งไม่มีงานให้กูทำแล้ว ฮ่าๆๆ” นั่นเป็นประโยคที่บอกกับผู้เขียนอย่างอารมณ์ดี

มาดูครับว่ามีอะไรที่ Shop ของแกบ้าง

            นี่เป็นโรงงานเล็กๆที่แกสร้างเอาไว้ กว่า 10 ปีแล้ว แม้ว่าช่วงนี้บรรยากาศจะเงียบเหงาไปบ้าง ด้วยภาวะพิษเศรษฐกิจกำลังพ่นพิษอย่างหนัก คนงานที่เคยมีกว่า10คน ตอนนี้เหลือไม่ถึง3คน จะเห็นว่าเต็มไปด้วย ชิ้นส่วน เศษไม้ บ่งบอกว่าเคยรุ่งเรืองมาก่อนยุคมีงานเข้า

               เห็นไหมครับ โต๊ะเลื่อย หรือ Table Saw ที่ช่างมืออาชีพเขาใช้กัน มันช่างธรรมดามากๆ แต่ขอบอกว่าตัดได้ฉากเป๊ะ รางสไลด์ก็ทำด้วยไม้อัดนี่แหละ เห็นอย่างงี้ผ่านงาน กล่ำศึกมาแล้วนับไม่ถ้วน

          นี่เป็นอีกภาพหนึ่งที่ผู้เขียน เก็บได้ในขณะที่ช่างเขาจอดซื้อของที่ร้านค้าแห่งหนึ่งเป็นโต๊ะเลื่อยทำขึ้นมาเอง พร้อมเสมอสำหรับการขนย้าย กรณีต้องเข้าทำที่หน้างานและกลับมาทำที่บ้าน

            ช่วงนี้แกมีงานที่ต้องทำคือ “ตู้เกม” เห็นด้วยกับผมไหมครับ เครื่องมือที่แสนจะธรรมดา ทำไมถึงได้ทำงานออกมาได้สวย เนียนขนาดนี้ นี่ทีมงานยังไม่ได้ไปถ่ายรูปผลงานที่แกทำมาเลยครับ ว่างๆจะนำมาเสนอให้เห็น รับรองว่างานพี่แกสมราคาครับ

อีกมุมหนึ่งที่แสนจะรก แกบอกว่าเห็นว่ารกยังงี้เหอะ อีตอนงานเข้า แกเก็บใช้จนเกลี้ยง ทิ้งไม่ได้จริงๆ

  ไม้โครง ที่ยิงแผงเสร็จแล้ว (สักจ๊อยซะด้วย) ผมบอกว่า “โห! พี่งานก็มีอยู่เยอะนี่ ไหนบอกไม่มีงาน  แกบอกว่า “โอ๊ยเด็กๆ งานแค่นี้ ก่อนนั้นวางเต็มนี่เลย”

  เป็นไงครับ ลูกน้องแก อินเทรนขนาดไหน โชว์ลิงแลบลิ้นแดงซะงั้น

                อย่างไรก็ตาม ช่างไม้มืออาชีพเหล่านี้ก็ยังต้องสรรค์สร้างผลงานกันต่อไป หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่บังเอิญผ่านมาเห็นชีวิตช่างไม้ ก็อยากให้เห็นใจในความลำบากของพวกเขา ราคาถ้าอยู่ด้วยกันได้ก็ช่วยๆกันครับแต่ถ้าช่างคนไหนตีราคาแพงมากก็ลองหาอีกสักช่างเปรียบเทียบดู ปัญหาเรื่องช่างทิ้งงานส่วนใหญ่เกิดจากผู้รับเหมาหรือช่างแบบ ที่รับงานผ่านกับเจ้าของบ้านโดยตรง เบิกเงินแล้วไม่ยอมจ่ายช่าง สุดท้ายช่างก็ไม่ไหว แต่ช่างเองก็มีหลายแบบ หลายสไตล์ 

Air Ventilation system


Air Ventilation system

 การระบายอากาศ หมายถึง การทำให้อากาศเกิดการไหลเวียนและถ่ายเทภายในอาคารโดยการออกแบบตัวอาคารให้มีช่องระบายอากาศเข้า-ออก หรือการเติมอากาศบริสุทธิ์เข้าไปภายในอาคารโดยตรง โดยผ่านระบบท่อลม  (Air duct distributions system) หรือการเติมโดยพัดลมติดผนัง(Wall Fan)  และขณะเดียวกันจะต้องระบายอากาศออกยังภายนอกจากวิธีธรรมชาติหรือวิธีทางกล การเติมและการระบายอากาศ จะต้องมีปริมาณที่เหมาะสม สามารถระบายและถ่ายเทอากาศได้อย่างเพียงพอ การระบายอากาศในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องมีการกำจัดฝุ่นหรือมลพิษก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ เพราะในปัจจุบันมีกฎหมายความคุมด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการออกแบบและติดตั้งควรคำนึงให้คลอบคลุมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
  

       ระบบระบายอากาศ ทั่วๆไปมักจะใช้วิธีทางกล เนื่องจากสามารถกำหนด ปริมาณลม อัตราการถ่ายเทต่างๆ ได้ค่อนข้างแน่นอน แต่วิธีระบายอากาศแบบธรรมชาติโดยมากจะเป็นขอบเขตและความรับผิดชอบของ สถาปนิกและวิศวกรโยธา ที่จำเป็นต้องออกแบบและกำหนดมาตรฐานของอาคารก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้าง
       ระบบระบายอากาศมักจะมาคู่กับระบบปรับอากาศ ในระบบปรับอากาศเองก็มีความจำเป็นที่จะต้องเติมอากาศบริสุทธิ์เข้าภายในอาคาร โดยปกติจะอยู่ประมาณ 2-3 Air change หรือประมาณ 5% ของปริมาณอากาศที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ    


การระบายอากาศแบ่งออกเป็น 2 วิธี

  • การระบายอากาศแบบธรรมชาติ
  • การระบายอากาศโดยวิธีทางกล

นายกิตติธัช บุญสร้าง 1581020241102

Anchor pile

Anchor pile แองเคอะไพล แปลว่า เสาเข็มสมอ


เป็นการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจริง โดยใช้น้ำหนักทดสอบกระทำกับเสาเข็ม และตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเสาเข็มเปรียบเทียบกับค่าการเคลื่อนตัวที่ยอมให้
หลักการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม ทดสอบโดยการวางน้ำหนักบรรทุกจนเกิดแรงกระทำที่เสาเข็ม แล้วตรวจวัดค่าการเคลื่อนตัวที่เกิดขึ้น พร้อมกับตรวจวัดและบันทึกค่าการเคลื่อนตัวของเสาเข็มไปพร้อมกัน เมื่อทดสอบจนแล้วเสร็จนำผลที่ได้มาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนัก บรรทุกกับค่าการทรุดตัว เพื่อการวิเคราะห์ผลต่อไป
การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม
มี 2 วิธี คือ Static load Pile Test แบบเสาเข็มสมอ (Anchor Pile) และ Static load Test แบบวัสดุถ่วง โดยในการทดสอบจะเพิ่มน้ำหนักเป็นช่วงๆ พร้อมกับวัดค่าการเคลื่อนตัวของเสาเข็ม

สืบค้นจาก http://www.cosmoctc.com/static-pile-load-test/

นางสาว อรทัย ปัญใจ รหัสนักศึกษา 1581020241148

Column box

อ่านว่า อ่านว่า (ค็อลลัม บ๊อกซ) 

แปลว่า  ไม้แบบเสา

ไม้แบบเสา

รูปภาพจาก : https://www.scgbuildingmaterials.com

               หากพูดถึงงานเทแบบในการก่อสร้างแล้วจะต้องมีการใช้ไม้ซื่งหนื่งในนั้นคงนี้ไม่พ้นไม้แบบสำหรับตีแบบอย่างแน่นอน ตามที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งไม้แบบก่อสร้างนั้น จะ
มีหลากหลายชนิดให้ได้เลือกใช้งานกัน ก่อนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจกับเรื่องของไม้แบบก่อนเป็นอันดับแรกว่า ไม้แบบคือ 
ไม้ที่นิยมนำมาทำแบบส่วนใหญ่ก็จะมีจำพวก
-ไม้ เบญจพรรณ
-ไม้ เยลโล่
-ไม้ยางพารา
-ไม้ฉ่ำฉา
                 หน้าไม้ที่นำมาใช้งานก็มีหน้า 6,8,10″,และความหนา ของไม้ จะมีขนาด 1″, 1-1/2″, เป็นต้นความยาวก็ มีตั้ง 1 – 400 ม.

การจะเลือกใช้ไม้ชนิดและขนาดใดขึ้นอยู่กับตัวแบบและความสำคัญของแบบด้วยเช่นกัน ราคาก็จะแตกต่างกัน

                  เวลาที่ทำแบบ(ตีแบบ)ควรนำมาประกอบยึดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นกล่อง เป็นร่อง เพื่อให้สามารถวางเหล็ก (เส้น) เสริมตามแบบลงไปก่อนที่จะเทคอนกรีต ซึ่งไม้แบบนี้สามารถขึ้นรูปได้จากวัสดุหลายชนิด ดั้งเดิมเก่าแก่สุดจะใช้ไม้กระดาน (เบญจพรรณ) ซึ่งมักมีความหนาที่ 1” , 11/2” หน้ากว้างตั้งแต่ 6,8,10” นำมาตีประกอบเข้ากันเป็นแผง ไม้แบบมักไม่มีการเข้ารางลิ้นระหว่างกัน จึงจะมีช่องว่างระหว่างแผ่นไม้ที่ประกบยึดติดกันด้วยไม้โครง (ไม้ขนาด11/2” x 3”) และต้อง ยึดไม้แบบให้ตรึงแน่นหนาทั้งที่เป็นคานและเสา

                  เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีร่องรูรั่ว เช่น โคนไม้แบบเสา หรือริมเสา ข้างท้องคาน ซึ่งร่องเหล่านี้จะเป็นจุดที่น้ำปูนคอนกรีตสามารถไหลเล็ดรอดออกมาถ้าช่องว่างใหญ่เกินไป อีกจุดหนึ่งคือ ตรงที่ไม้แบบแนวตั้งมาบรรจบกับไม้แบบแนวนอน ซึ่งหากการตียึดจับด้วยโครงคร่าวไม่แข็งแรง รอยต่อ (ฉาก) จุดนี้ก็จะเป็นอีกจุดที่น้ำปูนไหลออกมาได้ 

                  ทำให้เวลาถอดแบบแล้วเห็นเป็นอาการท้องคานเป็นโพรง) หรือตรงที่ไม้แบบหัวคานไปบรรจบกับเสา หรือแม้แต่ตรงปลายไม้แบบที่จะหล่อเสา หากไม่สัมผัสกับพื้นอย่างแนบสนิท เวลาถอดแบบออกมามักจะเห็นเป็นอาการโคนเสาคอนกรีตไม่เต็ม (ที่ติดกับพื้นมีอาการเป็นโพรงอากาศ เห็นหินหรือเหล็กเสริมภายใน)

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.hengpanit.com

decorative glass worker

decorative glass worker แปลว่า ช่างประดับกระจก

งานช่างประดับกระจก หรือ บางทีเรียกว่า ช่างติดกระจก เป็นงานช่างรัก ประเภทหนึ่งมาแต่โบราณ ภายหลังได้รับการจัดให้เป็นประณีตศิลป หรือ มัณฑนศิลปอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องด้วยงานช่างประดับกระจก เป็น งานตกแต่งสิ่งอุปโภค หรือ ครุภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดความงามเพิ่มเติมสมบูรณ์ขึ้น ด้วยศิลปลักษณะบนผิวภายนอกของสิ่งนั้นๆ โดยการประดับด้วยกระจกสีต่างๆ ผิวมันวาว ซึ่งได้รับการตัดแบ่ง และแต่งเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ติดต่อกันเป็นลวดลาย เป็นลายหลากหลายแบบด้วยกันขึ้นบนศิลปภัณฑ์นั้นๆ

งานช่างประดับกระจกก็ดี ความนิยมต่องานประดับกระจกก็ดี เนื่องมาแต่สาระซึ่งผู้คนแต่ก่อน เห็นความ สำคัญในคุณลักษณะของกระจก ที่เป็นทั้งสี และมีความมันแวววาว กับยังเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเปล่งประกายออกได้ คล้ายกับอัญมณี เมื่ได้รับแสงสว่างส่องมากระทบผิวกระจกนั้น กระจกสีจึงได้รับการนำมาประดับลงในบางสิ่ง ที่พึ่งประดับด้วยอัญมณีจริง หรือ ประดับเป็นอย่างของเทียมแทนจะใช้อัญมณี นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่มีคุณภาพแข็ง คงทนถาวรต่อแดด ฝน เป็นเครื่องช่วยป้องกัน มิให้วัตถุที่กระจกปิดทับเสื่อมสลายง่าย จึงเป็นเหตุให้เกิดมีงานเครื่องประดับกระจก และกระบวนการช่างประดับกระจก เป็นขนบนิยมขึ้นในแวดวงช่างสิบหมู่ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

งานช่างประดับกระจก หรือ บางทีเรียกว่า ช่างติดกระจก

รูปภาพ งานช่างประดับกระจก หรือ บางทีเรียกว่า ช่างติดกระจก เป็นรูปกบี่แบกฐานเจดีย์ (สมัยรัตนโกสินทร์)ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

นาย ธงไชย จิตรหัสต์ชัย 1581020241152 การจัดการงานก่อสร้าง

Construction material

อ่านว่า (คอนสทรัคชั่น มะเทียเรียล)

แปลว่า วัสดุก่อสร้าง

ความรู้เพิ่มเติม : วัสดุก่อสร้าง คือ วัสดุที่ใช้ในจุดประสงค์สำหรับการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้น วัสดุก่อสร้างมีการหลากหลายในทางวัสดุตั้งแต่ ดินจนถึงโลหะ พลาสติกหรือแก้ว วัสดุแบ่งแยกในหลายด้านไม่ว่าโครงสร้างทางวัตถุ จุดประสงค์การใช้งาน มักจะหมายถึงชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในงานจำเพาะเจาะจงและอาจหมายถึงวัสดุต่างชนิดได้เช่น เสาเข็ม สามารถหมายถึง เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มไม้ หรือเสาเข็มเหล็ก หรือแม้แต่ในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของวัสดุก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม ได้มีหลายองค์การที่จัดแบ่งแยกวัสดุออกตามการนำกลับมาใช้ใหม่ 
ในเมืองไทยคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (2549) เนื่องจากคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนไฟ คอนกรีตได้มีการใช้ในงานอาคาร ถนน หรือแม้แต่อนุสาวรีย์ และด้วยเหตุผลทางการเมืองที่รัฐบาลมีการสนับสนุนคอนกรีต และมีการตั้งภาษีนำเข้าของเหล็กสูง 

วัตถุก่อสร้างแบ่งตามวัตถุดังนี้     

  • เมทัลชีท หลังคาเหล็ก
  • โคลน หิน ดิน ทราย
  • ไม้ ไม้อัด
  • วัสดุก่อ อิฐ อิฐมอญ อิฐบล็อก กระเบื้อง
  • คอนกรีต คอนกรีตเสริมแรง คอนกรีตมวลเบา ปูน
  • เหล็ก เหล็กรูปพรรณ อะลูมิเนียม เหล็กกล้า เหล็กเส้น สลิง
  • พลาสติก พอลิเมอร์ ยูพีวีซี
  • กระจก อะคริลิค
  • ยิปซัม
  • กระเบื้อง   

ข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัสดุก่อสร้าง